รู้หรือไม่! กระดูกพรุนแตกต่างกระดูกบาง อย่างไร
เนื่องจากภาวะที่กระดูกสามารถแตกหักได้ง่ายนั้น มักเกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ ได้แก่ โรคกระดูกบางและโรคกระดูกพรุน ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมาก มักจะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าโรคทั้งสองเป็นโรคเดียวกัน ทว่าในทางการแพทย์นั้น ได้แบ่งแยกโรคทั้งสองชัดเจน โดยให้รายละเอียดต่อไปนี้
- โรคกระดูกบาง คือ ภาวะที่มวลกระดูกหลังการตรวจลดลงเหลือระหว่าง -1.0 ถึง -2.5
- โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มวลกระดูกหลังการตรวจลดลงเหลือน้อยกว่า -2.5 ขึ้นไป
จะเห็นได้ชัดเจนว่า “โรคกระดูกบาง” มีความหนาแน่นของมวลกระดูกมากกว่า “โรคกระดูกพรุน” ทำให้ระดับอาการของโรครุนแรงน้อยกว่า แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบาง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในอนาคต ซึ่งวิธีการป้องกันมวลกระดูกลดลงก่อนวัย มี 3 ข้อหลัก ต่อไปนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี วิตามินเค ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
- ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ลดโอกาสที่กล้ามเนื้อหดเกร็งกดทับกระดูกได้
- งดทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงทำให้กระดูกเปราะบาง แตกหักได้ง่าย