รู้ทัน ภัยเงียบ! กับอาการเบื้องต้น โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากแคลเซียมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกบางและเสื่อมสภาพได้ ทว่าโรคดังกล่าวจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดในบริเวณที่มีปัญหาในทันที แต่จะทำให้กระดูกแตก หรือ หักได้ง่ายกว่าเดิม หลายคนจึงไม่ค่อยทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่! ซึ่งวิธีการสำรวจอาการเบื้องต้น มีดังนี้
- กระดูกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แตกหักได้ง่าย แม้จะถูกแรงกระแทกไม่มาก็ตาม
- กระดูกสันหลังไม่ตรง มีส่วนที่โค้งงอผิดปกติ หรือ หลังค่อม
- ส่วนสูงปกติที่เคยสูง ลดลงจากเดิม
- ปวดหลังในลักษณะต่อเนื่องยาวนาน โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับหลังมากนัก
และปัจจัยที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ มีดังต่อไปนี้
- ช่วงอายุที่มากขึ้น การทำงานของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ
- ฮอร์โมนในช่วงที่หมดประจำเดือน จะส่งผลกระทบให้กระดูกเริ่มเปราะบาง
- ผลกระทบจากโรคที่เกี่ยวกับต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมหมวกไต หรือ ไทรอยด์
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยเกินไป ร่างกายจะขาดแคลเซียมและเกิดโรคกระดูกพรุนได้
- ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระดูก เม็ดเลือด หรือ แพ้ภูมิตัวเอง
ดังนั้นแนวทางในการดูแลตนเองเบื้องต้นให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเยอะ เพราะมีกรดสูง มีผลเสียต่อกระดูกได้ในอนาคต