ข้อต่อดังขณะเคลื่อนไหว อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
เสียงดัง "แคร็ก" ที่เกิดขึ้น เมื่อการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณเตือน
เมื่อข้อต่อต่าง ๆ เริ่มคลายตัวผิดจังหวะ ถ้าดังมากอาจบ่งบอกว่า กระดูกและข้อต่อ
กำลังเกิดอาการ “ร้าว” ได้ และคุณต้องรีบหาสาเหตุให้ทันการณ์ เพราะอาจมีอันตราย
ที่แอบแฝงอยู่ มากกว่าที่คุณคิด
สาเหตุหลัก ๆ ของเสียงดังจากข้อต่อ มักมาจาก 5 สาเหตุ ดังนี้
- การแตกตัวของการก๊าซในข้อต่อ
กระดูกข้อต่อแต่ละคู่ ที่เรียกว่า facet joint ซึ่งมีแคปซูลล้อมรอบ ภายในเต็มไปด้วย
ของเหลวและก๊าซ เมื่อแคปซูลข้อต่อถูกยืดออก ก๊าซจะถูกปล่อยออกมา ในรูปของ
ฟองอากาศอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดเสียงดัง หรือเสียงแตกของกระดูก
- การเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวจะมีผลต่อเอ็น ซึ่งเป็นเส้นใยที่เชื่อมกระดูก และกล้ามเนื้อในข้อต่อ
หากเส้นเอ็นเคลื่อนออกจากตำแหน่งเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ข้อต่อเกิดเสียงดังขึ้น
และเมื่อกลับสู่ตำแหน่งเดิม ในทำนองเดียวกันเอ็น ก็สามารถเกิดเสียงดังได้เช่นกัน
- โรคข้ออักเสบ
หากข้อต่อได้รับผลกระทบจากโรคข้ออักเสบ กระดูกอ่อนอาจสูญเสียความเรียบเนียน
เนื่องจากพื้นผิวข้อต่อ เริ่มหยาบและขรุขระขึ้น จนอาจทำให้เกิดเสียงดัง
เมื่อมีการเคลื่อนไหว
- โรคหลอดเลือดสมอง
การแตกร้าวของคอ อาจทำให้หลอดเลือดแดง ที่กระดูกสันหลังฉีกขาด ซึ่งถ้าคุณ
ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- การแข็งตัวของเลือด
กระดูกแตกที่คอ ทำให้บางกรณีเกิดเลือดคั่งที่คอ สิ่งนี้อันตรายมากเ พราะสามารถ
หยุดการส่งออกซิเจนไปยังสมองได้
เสียงดังขึ้นที่เกิดขึ้น จากอาการต่าง ๆ ในข้างต้น มักมาพร้อมกับอาการเจ็บปวด
ขณะเคลื่อนไหว ดังนั้นแพทย์มักจะห้าม ไม่ให้ข้อต่อบริเวณนั้น ถูกกระทบกระเทือน
แรง ๆ เช่น หมุนคออย่างแรงเพื่อคลายเส้น แต่คออาจได้รับความเสียหาย จากการ
หมุนคอแบบผิดจังหวะ เป็นต้น และคุณอาจต้องเพิ่มการรับประทาน อาหารเสริมจำ
พวกกระดูกและข้อ ก็จะช่วยได้ไม่น้อย